ข่าวทั่วไทย
จิตแพทย์เผย ‘โรคคลีฟโทมาเนีย’ ขโมยโดยไม่ตั้งใจมีจริง! ’รองอธิบดี’ ไม่แน่ใจอาจป่วยได้
03:16
loading...
เมื่อวันที่ 25 มกราคม นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์และโฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงกรณีข่าวว่า รองอธิบดีในกระทรวงพาณิชย์ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากขโมยภาพวาด 3 ภาพภายในโรงแรม ว่า เรื่องนี้คงไม่สามารถเจาะจงว่า ข้าราชการระดับสูงท่านนั้นมีสภาพจิตใจ หรือป่วยทางด้านโรคจิตเวชหรือไม่ เพราะไม่ได้มีการประเมินหรือวินิจฉัยโดยตรง แต่หากพูดในหลักการแล้ว ภาวะที่เกิดขึ้นต้องแยกจากการขโมยของทั่วไป เนื่องจากการขโมยของทั่วไปนั้น ผู้ขโมยจะไม่ค่อยรู้ผิดชอบ แต่หากในบางกลุ่มที่มีอาการป่วย ก็ต้องพิจารณาอีกว่าช่วงอายุอย่างไร หากเป็นเด็กก็อาจจะยังไม่ทราบว่า อะไรควรไม่ควร แต่หากเป็นในกลุ่มผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจมีภาวะทางสมองเสื่อม ซึ่งอาจมาจากความผิดปกติของสารในสมองได้ ซึ่งสาเหตุก็ยังไม่ทราบแน่ชัด"โรคกลุ่มนี้เรียกว่า โรคคลีฟโทมาเนีย (Kleptomania) เป็นกลุ่มที่มีปัญหาการยับยั้งพฤติกรรมการขโมย โดยชีวิตประจำวันแทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อมาถึงจุดหนึ่งที่ต้องการของบางอย่าง จะมีความรู้สึกขัดกันขึ้นมา อยากได้มากถึงมากที่สุด แม้ของเหล่านี้อาจไม่ได้มีมูลค่ามากพอ โดยบางกลุ่มขโมยเสร็จแล้ว อาจจำไม่ได้ หรือบางกลุ่มจำได้ และจะรู้สึกผิดมากๆ บางรายรับสิ่งที่ตัวเองกระทำไม่ได้ ถึงขนาดเป็นภาวะซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย ซึ่งที่ผ่านมาตัวเลขของผู้ป่วยกลุ่มนี้ทั่วโลกไม่มีตัวเลขแน่ชัด ในประเทศไทยส่วนใหญ่มาหาด้วยอาการซึมเศร้า แต่มาพบภายหลัง เรียกว่าหลายคนไม่รู้ตัวเลย ดังนั้น หากรู้สึกว่า อยากขโมย อยากได้ ไม่ต้องรอลงมือทำ แค่มีความคิด ก็ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ หรือโทรปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ทันที" นพ.อภิชาติ กล่าว
นพ.อภิชาติ กล่าวอีกว่า กรณีของข้าราชการระดับสูงท่านนี้ ในส่วนของความผิดก็ว่ากันไปตามผิด ก็เป็นเรื่องของคดีไป แต่ในส่วนว่า เขาจะป่วยหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบก็ต้องไปตรวจวินิจฉัย แต่หากป่วยก็ควรรักษา ซึ่งในสังคมมีลักษณะนี้อยู่จริง แต่หลายคนก็ไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม วิธีการสังเกต และป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมลักขโมย สิ่งของผู้อื่น สามารถสังเกตอาการของตัวเองได้ หากเพียงแค่มีความคิด อยากได้ ของผู้อื่น มาครอบครองโดยเจ้าของไม่รับรู้เพียงแค่ครั้งเดียว ต้องห้ามมอง ข้ามสัญญาณเตือนนี้ และ ต้องไม่ลงกระทำ เพราะ หากปล่อยไปและเกิดการลงมือกระทำแล้ว อาจทำให้กลายเป็นบุคคลที่มีนิสัย และ พฤติกรรมการลักขโมย ได้ในที่สุด ทั้งนี้ หากป่วยด้วยโรคนี้จริง การรักษาในปัจจุบันจะเป็นการให้ยา เพื่อยับยั้งความผิดปกติของสมอง แต่อย่างไรก็ตามที่สำคัญควรปลูกฝังสอนตั้งแต่เด็กว่า การขโมยเป็นสิ่งไม่ควรทำ
cr.prachachat
เครดิต :
Cr:http://tnews.teenee.com/
loading...
0 ความคิดเห็น