จาก”ยันตระ”ถึงคิว”ธัมมชโย”งัดกฎมหาเถรสมาคมฉบับ21จับสึกกลางอากาศ”ธัมมชโย”วันนี้ชี้ชะตา จบสิ้นกันที(รายละเอียด)

จาก”ยันตระ”ถึงคิว”ธัมมชโย”งัดกฎมหาเถรสมาคมฉบับ21จับสึกกลางอากาศ”ธัมมชโย”วันนี้ชี้ชะตา จบสิ้นกันที(รายละเอียด) ชื่อของ“พระยันตระ อมโรภิก...

จาก”ยันตระ”ถึงคิว”ธัมมชโย”งัดกฎมหาเถรสมาคมฉบับ21จับสึกกลางอากาศ”ธัมมชโย”วันนี้ชี้ชะตา จบสิ้นกันที(รายละเอียด)


ชื่อของ“พระยันตระ อมโรภิกขุ” หรือ “พระวินัย อมโร”  หากย้อนกลับไปเมื่อ 23ปี ที่แล้ว คือ ใน พ.ศ. 2537  ตอนนั้นคงไม่มีใครไม่รู้จัก  ขณะนั้น พระยันตระ  ในวัย 40 ปี เป็นข่าวโด่งดังในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับ และต่อเนื่องนานหลายเดือน หลังจากมีสีกากลุ่มหนึ่งได้ร้องเรียนไปยังกรมการศาสนาว่า “ยันตระ” หรือ “นายวินัย ละอองสุวรรณ” นั้นประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่สมณเพศ เพราะได้ไปล่อลวงสีกาชื่อ “จันทิมา มายะรังษี” ไปเสพเมถุนจนตั้งครรภ์ และคลอดบุตรสาวออกมา และได้ตั้งชื่อว่า “เด็กหญิงกระต่าย”



loading...


หลังจากมีการเปิดโปงเรื่องดังกล่าวนั้น  เรื่องนี้ก็ได้กลายเป็นเรื่องช็อกของวงการพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากเลยทีเดีย  เพราะต้องยอมรับว่า ในสมัยนั้น“พระยันตระ” ได้รับความศรัทธาเลื่อมใสจากพุทธศาสนิกชนมหาศาล ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นนักพรตฤาษี กระทั่งอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ในธรรมยุติกนิกายในปี พ.ศ. 2517 ณ วัดรัตนาราม อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จนมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

เพราะเป็นพระที่รูปงาม อีกทั้งยังมีลีลาการเทศนาที่ไพเราะจับใจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ “ยันตระ” กลายเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนั้น ทุกๆครั้งที่ไปเทศนาธรรมในแห่งหนตำบลใด หรือแม้แต่ในต่างประเทศ จะมีพุทธศาสนิกชนเข้ามาฟังจนแน่นขนัด แม้กระทั่งข้าราชการระดับสูง ตลอดจนข้าราชการการเมืองก็เคารพศรัทธา ‘พระยันตระ’ ในขณะนั้นเป็นอย่างยิ่ง



แต่แล้ว…เมื่อ “พระยันตระ” เจอข้อกล่าวหาที่รุนแรงผิดพระธรรมวินัยจนถึงขั้นปาราชิกเช่นนี้ แน่นอนว่า “พระยันตระ” ต้องปฏิเสธ ทำให้สื่อมวลชนพยายามขุดคุ้ยหลักฐานเพื่อเปิดโปง ขณะที่“จันทิมา” ก็ได้ฟ้องร้องพระยันตระ พร้อมกับขอท้าพิสูจน์ความจริงด้วยการตรวจดีเอ็นเอกับ “เด็กหญิงกระต่าย” แต่พระยันตระ กลับปฏิเสธที่จะเจาะเลือดตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ

เวลาผ่านไปเรื่องราวของพระยันตระก็ยิ่งถูกเปิดโปงออกมามากขึ้นเรื่อยๆ มีพยานหลักฐานชี้ชัดว่านอกจาก“จันทิมา”แล้ว พระยันตระยังพัวพันกับสีกาคนอื่น ๆ ทั้งคนไทย และคนต่างชาติ ในช่วงเวลาที่ไปแสดงธรรมที่ต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานว่าพระยันตระเคยเข้าไปใช้สถานบริการทางเพศ สถานบริการอาบอบนวด และเปิดโรงแรมกับหญิงสาวในต่างประเทศด้วย



เมื่อข้อมูลหลักฐานออกมาเช่นนี้ ในที่สุด มหาเถรสมาคมก็ได้พิจารณาปรับให้พระยันตระพ้นจากความเป็นสงฆ์ เนื่องจากถูกตั้งอธิกรณ์ผิดวินัยร้ายแรงด้วยการล่วงละเมิดเมถุนธรรม ต้องอาบัติถึงขั้นปาราชิก แต่…‘ยันตระ’ไม่ยอมรับมติสงฆ์ จึงปฏิญาณตนเองว่ายังเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ แล้วเปลี่ยนไปนุ่งจีวรสีเขียวแทน อันเป็นที่มาที่ทำให้สื่อมวลชนตั้งสมญาให้ว่า“จิ้งเขียว” “สมียันดะ”, “ยันดะ” เป็นต้น และถูกทางการดำเนินคดีข้อหาแต่งกายลอกเลียนสงฆ์

กระทั่งวันหนึ่ง อดีตพระยันตระ ได้ไปพูดวิจารณ์ก้าวล่วงหมิ่นองค์สมเด็จพระสังฆราชฯ ซึ่งถือว่าเป็นความผิดต้องถูกดำเนินคดี ทำให้อดีตพระยันตระพร้อมบริวารส่วนหนึ่งปลอมหนังสือเดินทางหลบหนีไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ภายหลัง ได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง จึงสามารถพักอาศัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกาได้โดยไม่ถูกดำเนินคดีใด ๆ และได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา และอาศัยอยู่ในสำนักสุญญตาราม เมืองเอสคอนดิโด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ



หลังสุดมีข่าวว่า“ยันตระ”กลับมาประเทศไทยแบบสบาย ๆ แถมยังมีลูกศิษย์ลูกหาคอยต้อนรับมากมาย อีกทั้งยังไม่ถูกดำเนินคดีใด ๆ เนื่องจากคดีความทุกอย่างหมดอายุไปแล้ว



จะเห็นได้ว่า ทั้ง ‘พระธัมมชโย’ และ ‘ ยันตระ ’ มีความเหมือนกัน

▸ กรณีพระยันตระ:
(1) รูปงาม น้ำเสียงไพเราะ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา
(2) พระสายปฏิบัติและพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดแห่งยุค
(3) มีผู้เคารพศรัทธามากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
▸ ในส่วนของกรณีหลวงพ่อธัมมชโย: ข้อ 1-3 เหมือนกันกับกรณีพระยันตระ และมีเพิ่มเติมคือ
(4) มีวัดและมูลนิธิที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่เช้มแข็ง
(5) มีบุคลากรภายในทั้งพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาที่อุทิศตนเพื่อรับใช้พระพุทธศาสนา
(6) ขยายสถานที่ปฏิบัติ ศูนย์สาขา และวัดสาขาของวัดพระธรรมกายไปทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก
ส่วนที่แตกต่างกันก็คงเป็นเรื่องที่พระธัมมชโยนั้นไม่มีเรื่องของ สีกา  การล่วงละเมิดเมถุนธรรม ทำให้อาบัติ ถึงขั้นปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสงฆ์ ส่วนพระธัมมชโย ไม่มีเรื่องสีกาเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของการต้องคดีความอาญา
ซึ่งเรื่องนี้ นายไพบูลย์  เคยได้กล่าวไว้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559 ว่า .. ‘กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 21 นี้ ออกมาเพื่อจัดการกับพระที่มีอิทธิพล ไม่สามารถจัดการด้วยกฎหมายปกติได้ ก็เหมือนกับการใช้มาตรา 44 ซึ่งหลังจากออกกฎมหาเถรสมาคมฉบับนี้มาไม่กี่วัน มหาเถรสมาคมก็มีมติให้พระยันตระ พ้นจากสมณเพศ จากนั้นยังไม่ได้นำกฎนี้มาใช้กับพระรูปใดอีก ดังนั้นหากจะนำมาใช้กับพระธัมมชโย ก็เท่ากับเป็นพระรูปที่สองที่ถูกให้สึกด้วยกฎนี้ ’



และวันนี้เราก็ได้นำ กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 21 นี้มาให้ได้อ่าน ทำความเข้าใจกันด้วย…ว่า กฏดังกล่าว จะเอาผิดกับธัมมชโยอย่างไร???



กฎมหาเถรสมาคม

ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๕๓๘)

ว่าด้วยการให้พระภิกษุสละสมณเพศ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ซึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ มหาเถระสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคมไว้ดังต่อไปนี้

๑. กฎมหาเถรสมาคมนี้ เรียกว่า “กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๕๓๘) ว่าด้วยการให้พระภิกษุสละสมณเพศ”

๒. กฎมหาเถรสมาคมนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป

๓. ในกรณีพระภิกษุรูปใด

(๓.๑) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเรื่องเดียวกันหรือหลายเรื่องเป็นอาจิณ ให้เจ้าอาวาสซึ่งพระภิกษุรูปนั้นสังกัดหรือพำนักอาศัยมีอำนาจหน้าที่ แนะนำ ชี้แจง ตักเตือน ให้พระภิกษุรูปนั้นประพฤติตามพระธรรมวินัยเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำหนดเวลาให้ปฏิบัติ หากพระภิกษุรูปนั้นไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ ชี้แจง ตักเตือน ภายในเวลาที่กำหนด ให้เจ้าอาวาสวัดซึ่งพระภิกษุรูปนั้นสังกัดหรือพำนักอาศัย รายงานโดยลำดับจนถึงเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัด เพื่อวินิจฉัยให้สละสมณเพศต่อไป

(๓.๒) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง หรือไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ให้พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองวัดหรือพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ในเขตท้องที่ที่พบพระภิกษุรูปนั้น มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้

๔. ในกรณีที่มีการฟ้องว่าพระภิกษุรูปใดกระทำความผิดอันเป็นครุกาบัติ เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแล้วมีคำสั่งประทับฟ้องเพื่อดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยต่อไปก็ดี คณะผู้พิจารณาชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ไม่ว่าจะลงนิคหกรรมหรือไม่ก็ตาม และเรื่องยังอยู่ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์ก็ดี หรือมีการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาแล้วไม่ว่าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์จะมีคำสั่งหรือวินิจฉัยอย่างไรก็ดี ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นหรือคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี รายงานข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพระธรรมวินัยที่เกี่ยวข้องต่อมหาเถรสมาคม

ในกรณีที่การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมอยู่ในชั้นฎีกา กรรมการมหาเถรสมาคมรูปใดรูปหนึ่ง อาจรายงานต่อมหาเถรสมาคมเพื่อให้ดำเนินการตามข้อนี้นอกเหนือจากการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมก็ได้

ในกรณีที่มหาเถรสมาคมพิจารณาจากรายงานดังกล่าวและพยานหลักฐานอื่นประกอบกันแล้ว เห็นว่าพระภิกษุผู้เป็นจำเลย ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเรื่องเดียวกันหรือหลายเรื่อง อันเป็นโลกวัชชะเป็นอาจิณ ทั้งความประพฤตินั้นเมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ที่ล่วงมาแล้ว หากให้ดำรงเพศบรรพชิตต่อไปจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่พระศาสนาและการปกครองของคณะสงฆ์ มหาเถระสมาคมมีอำนาจวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศได้ ทั้งนี้ไม่กระทบต่อการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ไม่ว่าในชั้นใดๆ

๕. คำวินิจฉัยให้พระภิกษุสละสมณเพศตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ ให้เป็นอันถึงที่สุด

๖. เมื่อมีคำวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปใดสละสมณเพศตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ แล้วให้เจ้าอาวาสวัดซึ่งพระภิกษุรูปนั้นสังกัดหรือพำนักอาศัย หรือพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองวัด หรือพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ในเขตท้องที่ที่พบพระภิกษุรูปนั้นแล้วแต่กรณี แจ้งผลคำวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นทราบ และจัดการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศ

ในกรณีที่ไม่อาจพบพระภิกษุรูปนั้นหรือพระภิกษุรูปนั้นไม่ยอมรับทราบคำวินิจฉัย เมื่อปิดประกาศคำวินิจฉัยไว้ ณ ที่พำนักอาศัยของพระภิกษุรูปนั้น ถือว่าพระภิกษุรูปนั้นทราบคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว

๗. พระภิกษุผู้ต้องคำวินิจฉัยให้สละสมณเพศต้องสึกภายในสามวัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยนั้น

ในกรณีที่พระภิกษุรูปนั้นไม่สึกภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้พระภิกษุผู้มีหน้าที่จัดการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศ ขออารักขาต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักรเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัย

๘. ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์แล้วแต่กรณี ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมและการพิจารณานั้นยังไม่ถึงที่สุด ปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคมนี้และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๒๑) ต่อไป



ตราไว้ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๘

(สมเด็จพระญาณสังวร)

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

Cr:http://www.zocialx.com/

loading...

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น

Flickr Images