ข่าวทั่วไทย
เห็นแค่นี้ก็น้ำตาไหล..ฉลองพระองค์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ถูกนำมาผูกไว้กับถ่งฮวง ในพิธีกงเต๊กหลวง
00:31คณะสงฆ์อนัมนิกาย จัดพิธีกงเต็กอุทิศมหากุศลถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยจัดตามโบราณราชประเพณีอย่างยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติที่สุด เพื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ดุจดั่งพระโพธิสัตว์
สำหรับเครื่องกระดาษเพื่อใช้ในการประกอบพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลกงเต๊กถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ซึ่งเป็นพิธีที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะสงฆ์จีนนิกายทั่วประเทศร่วมกันจัดขึ้นในวันนี้นั้น ได้ถูกจัดเตรียมไว้อย่างเรียบร้อย จากร้านโต๋ว เจียบ เส็ง ซึ่งเป็นร้านรับทำเครื่องกระดาษและจัดไหว้เจ้า ซอยประดู่ เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ
ซึ่งมีทั้งหุ่นทหารและหุ่นข้าราชบริพาร (หรือ"กั้ง"ในภาษาจีน) จำนวน 18 ตัว โดยร้านนี้ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์จากวัดจีนให้จัดทำเครื่องกระดาษถวายในครั้งนี้
loading...
นอกจากนี้ยังมีพระคลังเงิน 1 หลัง พระคลังทอง 1 หลัง ภูเขาเงินภูเขาทอง 9 ลูก หีบสมบัติ 2ใบ เสื้อผ้าเด็ก ผู้ชาย ผู้หญิงอย่างละ 200 ชุด
กระดาษเงินและกระดาษทองเผาอุทิศกุศลให้สัมภเวสีอย่างละ1 โดยใช้เวลากว่า 2 เดือน และผู้ร่วมงานกว่า 10 คน งานทุกชิ้นงานทำอย่างปราณีตเป็นพิเศษเพื่อให้สมพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน โดยพระคลังเงินและพระคลังทองทำยากสุดเพราะของที่นำมาประดับเยอะมากใช้เวลาแต่ละพระคลังถึง 2 อาทิตย์ด้วยกัน
พิธีกงเต็ก ในงานบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ภาพจากหอสมุดแห่งชาติ)
สำหรับ พิธีกงเต๊กหลวง นั้น มีบัญทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยมาอย่างยาวนาน มีขึ้นครั้งแรกเมื่อใดยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เรื่องงานพระบรมศพกล่าวว่า
"ลุศักราช ๑๒๑๔ ปีชวด (พ.ศ. ๒๓๙๕ ) จัตวาศก เป็นปีที่ ๒ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เร่งรัดทำการพระเมรุให้ทันในฤดูแล้ง...มีศาลาหลวงญวนทำกงเต็ก ๗ วัน ๗ คืน และโปรดฯ ให้เจ๊สัวเจ้าภาษีผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปคำนับพระบรมศพ ตามอย่างธรรมเนียมจีน มีเครื่องเซ่นทุกวัน นอกจากนั้นจะพรรณาไปก็ยืดยาวนัก ด้วยของมีตำราอยู่แล้ว..."
เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขุนนางจีน จีนเจ้าภาษี จัดพิธีกงเต็กถวายเป็นพระราชกุศลแด่ดวงพระวิญญาณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในครั้งนั้นโปรดให้จัดตามธรรมเนียมจีน มีหลวงญวนเป็นผู้ประกอบพิธี เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ผู้เรียบเรียงยังได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า "นอกจากนั้นจะพรรณาไปก็ยืดยาวนัก ด้วยของมีตำราอยู่แล้ว" ทำให้สันนิษฐานได้ว่า พิธีกงเต็กคงเป็นที่เข้าใจรู้จักกันทั่วไปในสังคมสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นอย่างน้อย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าไว้ในสาส์นสมเด็จ ว่า นับแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา พิธีกงเต็กจึงได้เข้าอยู่ในระเบียบงานพระศพเป็นการใหญ่เพื่อถวายพระบรมวงศานุวงศ์สืบต่อมา อาทิ งานพิธีกงเต็กในงานพระศพของสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี พระมเหสีในรัชกาลที่ ๔ งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. ๒๔๐๘ ซึ่งจัดถวายโดยบรรดานายอากรชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
พิธีกงเต็กหลวงได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ทุก ๗ วัน ๕๐ วัน และ๑๐๐ วัน เกิดขึ้นครั้งแรกในงานพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ กับ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๒๓ ซึ่งต่อมาการทำบุญเป็นระยะเวลานี้เองได้ให้อิทธิพลแก่ประเพณีการทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับเมื่อครบ ๗ วัน ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วัน ของคนไทยทั่วไป
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งไว้ในพระราชพินัยกรรมก่อนสวรรคต โปรดให้จัดพิธีกงเต็กหลวงถวายในงานพระบรมศพของพระองค์ด้วย
จวบจนถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ก็มีการประกอบพิธีกงเต็กหลวงที่สำคัญอาทิ
สมัยรัชกาลที่ ๔
พ.ศ. ๒๓๙๕ งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
พ.ศ. ๒๔๐๔ งานพระศพ สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี
พ.ศ. ๒๔๐๘ งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. ๒๔๑๐ งานพระศพ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
สมัยรัชกาลที่ ๕
พ.ศ. ๒๔๑๑ งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
พ.ศ. ๒๔๒๓ งานพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์
พ.ศ. ๒๔๓๐ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย
พ.ศ. ๒๔๓๐งานพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
พ.ศ. ๒๔๓๐ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
พ.ศ. ๒๔๓๒งานพระศพพระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์
พ.ศ. ๒๔๓๗งานพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
พ.ศ. ๒๔๔๓ งานพระศพ พระเจ้ามหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร และพระศพ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์
พ.ศ. ๒๔๔๕ งานพระศพ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา
พ.ศ. ๒๔๔๗ งานพระศพ พระเจ้าลูกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี
พ.ศ. ๒๔๔๘ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตร์เจษฎ์จันทร์
พ.ศ. ๒๔๕๐ งานพระศพ พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา
พ.ศ. ๒๔๕๒ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี
สมัยรัชกาลที่ ๖
พ.ศ. ๒๔๕๓ งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
พ.ศ. ๒๔๖๒งานพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พ.ศ. ๒๔๖๓ งานพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
พ.ศ. ๒๔๖๔ งานพระศพ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
พ.ศ. ๒๔๖๖ งานพระศพ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๖๖ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
พ.ศ. ๒๔๖๖ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
พ.ศ. ๒๔๖๗ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
พ.ศ. ๒๔๖๘ งานพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
สมัยรัชกาลที่ ๗
พ.ศ. ๒๔๖๘ งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
พ.ศ. ๒๔๗๐ งานพระศพ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
พ.ศ. ๒๔๗๑ งานพระศพ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
พ.ศ. ๒๔๗๒ งานพระศพ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
พ.ศ. ๒๔๗๒ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
พ.ศ. ๒๔๗๔ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
สมัยรัชกาลที่ ๘
(ผู้เขียนเข้าใจว่ามีการประกอบพิธีกงเต็กถวายในงานพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ แต่ยังไม่พบบันทึกเป็นหลักฐาน)
สมัยรัชกาลที่ ๙
พ.ศ. ๒๔๙๓ งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
พ.ศ. ๒๔๙๙ งานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พ.ศ. ๒๕๒๘ งานพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗
พ.ศ. ๒๕๓๘ งานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พ.ศ. ๒๕๕๑ งานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
พ.ศ. ๒๕๕๔งานพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี
โดยในยุคแรก พระสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทยมีมากกว่าพระสงฆ์จีนนิกาย การประกอบพิธีจึงได้ร่วมกันประกอบพิธี โดยสลับกันเป็นผู้นำพิธี
ในปัจจุบันพระสงฆ์ทั้ง๒คณะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประกอบพิธีกงเต็กน้อมเกล้าฯถวายทีละคณะสงฆ์
นอกจากพิธีกงเต็กที่คณะสงฆ์จัดถวายเป็นพระราชกุศลแล้ว ยังมีภาคเอกชน องค์กร คหบดี ชาวไทยเชื้อสายจีน ได้ขอพระบรมราชานุญาตจัดพิธีกงเต็ก น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล เช่นเดียวกับขุนนางจีนเจ้าภาษีในอดีต
ฉลองพระองค์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ถูกนำมาผูกไว้กับถ่งพวง (ธงรูปกระดาษ) ในพิธีกงเต๊กหลวง เพื่ออัญเชิญดวงพระวิญญาณสถิตในฉลองพระองค์
ฉลองพระองค์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ถูกนำมาผูกไว้กับถ่งพวง (ธงรูปกระดาษ) ในพิธีกงเต๊กหลวง เพื่ออัญเชิญดวงพระวิญญาณสถิตในฉลองพระองค์
ขอขอบคุณที่มาจาก : teenee.com
Cr:http://kaijeaw.com/
loading...
0 ความคิดเห็น